เฝือกปูน
Plaster of Paris

Plaster of Paris เฝือกปูน

 

ยี่ห้อ  GYPSONA

 

มีขนาดดังนี้  :  เฝือก 3" (7.5 cm x 2.7 m)         บรรจุ 2 โหล/กล่อง

                    เฝือก 4" (10 cm x 2.7 m)          บรรจุ 2 โหล/กล่อง

                    เฝือก 6" (15 cm x 2.7 m)          บรรจุ 1 โหล/กล่อง  

 

เฝือกปูนหรือเฝือกปูนพลาสเตอร์ Plaster of Paris เป็นเฝือกที่ทำจากแร่ยิปซัม (GYPSUM) เมื่อผ่านขบวนการผลิตแล้วหากถูกน้ำจะเกิดการแข็งตัวขึ้น และสามารถนำมาใช้เป็นเฝือกอ่อนหรือเฝือกแข็ง

 

เฝือกชั่วคราว Slab คือเฝือกที่ใช้ประคับประคองอวัยวะส่วนต่าง ๆ โดยมีเนื้อเฝือกอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของอวัยวะนั้น และพันแน่นด้วยผ้ายืด 

 

เฝือกแข็ง (Cast) คือเฝือกที่มีเนื้อเฝือกพันรอบอวัยวะนั้น ๆ

 

เฝือกปูน มักจะใช้เวลาในการแข็งตัวประมาณ 3-5 นาที ขึ้นอยู่กับชนิดของเฝือก , การชุบน้ำ , อุณหภูมิของน้ำ และกว่าจะแข็งตัวเต็มที่ อาจจะต้องใช้เวลา 24-48 ชั่วโมง ดังนั้นในช่วงแรก ๆ ของการใส่เฝือก จึงควรตระหนักว่าเฝือกยังไม่แข็งแรงเต็มที่ ไม่ควรขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนที่กำลังใส่เฝือกในช่วงที่เฝือกกำลังแข็งตัว อาจทำให้ความแข็งแรงของเฝือกลดลงได้มากกว่า 50% จึงควรอยู่นิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

วิธีการใส่เฝือก

1.ถ้ากระดูกหักเคลื่อนที่ จะต้องดึงและจัดกระดูกให้เข้าที่ก่อนใส่เฝือก โดยอาจฉีดยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบ

2.หลังจากทำการดึงกระดูกเข้าที่แล้ว ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะใส่เฝือก พันสำลีรองเฝือก เพื่อป้องกันไม่ให้เฝือกไปกดทับกระดูกหรือผิวหนัง

3.พันเฝือกให้แน่นกระชับพอดีกับกระดูกแขนหรือขา  ซึ่งความยาวของเฝือกจะใส่ตั้งแต่ข้อที่ต่ำกว่ากระดูกที่หัก จนถึง ข้อที่อยู่สูงกว่ากระดูกที่หัก

   - ในระยะแรกที่มีอาการบวมมาก อาจใส่เฝือกอ่อนหรือเฝือกชั่วคราว และเมื่ออาการบวมลดลงก็จะใส่เป็นเฝือกแข็ง

 

การดูแลเฝือกหรือเฝือกชั่วคราว

- พยายามดูแลเฝือกให้แห้งอยู่เสมอ อย่าให้เฝือกเปียกน้ำ ถ้าต้องการอาบน้ำให้หุ้มเฝือกด้วยถุงพลาสติก 2 ชั้น แล้วรัดปากถุงด้วยเชือกหรือยางยืดให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปโดนเฝือก

- ในกรณีที่ใส่เป็นเฝือกพลาสติก แล้วเฝือกเปียกน้ำ ให้ใช้พัดลมหรือไดร์เป่าผมเป่าเฝือกให้แห้ง

- ไม่ควรเดินลงน้ำหนักบนเฝือกจนกว่าเฝือกจะแห้ง และแข็งตัวเต็มที่ ซึ่่งเฝือกจะแข็งตัวเต็มที่ สำหรับเฝือกพลาสติกใช้เวลา 1 ชม. และสำหรับเฝือกปูนใช้เวลา 2-3 วัน 

- ระวังอย่าให้สิ่งสกปรก ทราย หรือฝุ่นเข้าไปในเฝือก

- ไม่ควรใช้ไม้หรือสิ่งอื่นใส่เข้าไปใสเฝือกเพื่อเกา ไม่ควรใส่แป้งเข้าไปในเฝือก ถ้าคันมากให้ใช้แอลกอฮอล์หยอดเข้าไปในเฝือกให้ไหลไปบริเวณที่คัน หรือไปพบแพทย์

- ไม่ควรตัดขอบเฝือกเอง หรือตัดเฝือกให้สั้นลง

-ไม่ควรดึงสำลีรองเฝือกออก

-หมั่นสังเกตเฝือก ถ้าพบว่ามีเฝือกแตก หัก หรือ เฝือกผิดรูป ให้ไปพบแพทย์

 

วิธีเอาเฝือกออก 

ไม่ควรเอาเฝือกออกเอง เพราะอาจทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง หรือกระดูกหายไม่ดี (กระดูกไม่ติดหรือติดผิดรูป) เมื่อจะตัดเฝือกออกแพทย์จะใช้เลื่อยสำหรับตัดเฝือกโดยเฉพาะ โดยใบเลื่อยจะเป็นแบบสั่นไปด้านข้าง (ไม่ใช่ใบเลื่อยทั่วไปที่เป็นใบเลื่อยแบบหมุน) ซึ่งเมื่อใบเลื่อยนี้ถูกกับสำลีรองเฝือก สำลีรองเฝือกก็จะไม่ขาด ทำให้ผิวหนังไม่ได้รับอันตราย เลื่อยตัดเฝือกอาจทำให้เกิดเสียงดังและรู้สึกร้อนจากการเสียดสี แต่ก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ

 

 

จำหน่าย อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์

 

#อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ #เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ #เครื่องมือวิทยาศาสตร์ #เวชภัณฑ์ #เครื่องมือแพทย์ #อุปกรณ์การแพทย์

  

สอบถามรายละเอียดสินค้า
ชื่อ:
โทรศัพท์:
Email:
ข้อความ: